ผมเชื่อว่า สำหรับคริสเตียนผู้เชื่อที่บังเกิดใหม่แล้ว ความปรารถนาอย่างหนึ่ง ที่เราทุกคนต่างมีร่วมกัน ก็คือ การได้รู้จักกับพระเจ้า ได้รู้จักกับพระองค์เป็นการส่วนตัว คำถามคือ เราจะรู้จักกับพระเจ้าได้อย่างไร? พระคัมภีร์สอนเรื่องการรู้จักกับพระเจ้าไว้อย่างไรบ้าง? วันนี้เราจะมาเรียนเรื่องของการรู้จักกับพระเจ้าในแบบพันธสัญญาใหม่กัน
ด้วยความปรารถนาดี และความจริงใจ ท่ามกลางหมู่ผู้เชื่อ ได้มีการพัฒนาคำสอนในเรื่องการรู้จักกับพระเจ้าขึ้นมามากมาย เมื่อเวลาผ่านล่วงเลยไป คำสอนเหล่านี้ ได้เกิดการพัฒนาการไปสู่สิ่งที่เรียกว่า ขั้นตอน วิธีปฏิบัติ หรือสูตรสำเร็จ ตามแต่ที่เราจะเรียก วิธีการและขั้นตอนเหล่านี้ ได้ถูกคิดค้นขึ้นมาด้วยท่าทีที่ดี และด้วยความจริงใจของผู้เชื่อในยุคสมัยหนึ่ง และได้ถูกสอนถูกถ่ายทอด สืบเนื่องต่อต่อกันมา เป็นระยะเวลายาวนาน จนกลายเป็นปทัสฐาน (Norm) และข้อพึงปฏิบัติ โดยที่เรา ก็ปฏิบัติต่อๆ กันมา โดยไม่รู้ว่า จริงๆ พระคัมภีร์ได้สอนเรื่องนั้นๆ ไว้อย่างไร เนื่องจากคำสอน หรือคู่มือคำสอนเหล่านี้ ได้เข้าไปทดแทน พระคัมภีร์โดยไม่รู้ตัว
ผมต้องขอออกตัวไว้ตรงนี้ก่อนว่า การใช้เวลากับพระเจ้าผ่านการอธิษฐาน การอ่านพระวจนะของพระเจ้า การมีสามัคคีธรรมกับพี่น้องผู้เชื่อ หรือจะการรับใช้ เป็นสิ่งที่ดี และมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยไม่มีข้อสงสัย ในการพัฒนาชีวิตฝ่ายวิญญาณของเราให้เติบโตขึ้น
ผมต้องขอออกตัวไว้ตรงนี้ก่อนว่า การใช้เวลากับพระเจ้าผ่านการอธิษฐาน การอ่านพระวจนะของพระเจ้า การมีสามัคคีธรรมกับพี่น้องผู้เชื่อ หรือจะการรับใช้ เป็นสิ่งที่ดี และมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยไม่มีข้อสงสัย ในการพัฒนาชีวิตฝ่ายวิญญาณของเราให้เติบโตขึ้น
แต่การใช้สิ่งที่ดีเหล่านั้น เป็นบรรทัดฐาน วิธีการ หรือสูตรสำเร็จ ว่าถ้าไม่ทำอย่างนั้น หรือไม่ทำอย่างนี้แล้วละก็ จะไม่สามารถรู้จักกับพระเจ้าได้ เป็นสิ่งที่อันตราย และจะเป็นอะไร ที่ไปเกินที่พระคัมภีร์ได้พูดเอาไว้
ประเด็นหลักของวันนี้ก็คือ คำสอนที่ถูกสอน ถูกถ่ายทอดกันอยู่ในทุกวันนี้ หลายๆ คำสอน เป็นคำสอนที่เน้นไปที่วิธีการ และสูตรสำเร็จ หนึ่ง-สอง-สาม และในบางคำสอนได้ไปไกลเกินกว่า สิ่งที่พระเจ้าพูดไว้ในพระคัมภีร์ ผมไม่ได้บอกว่า ทุกคำสอนที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่ดี ตรงกันข้าม ในปัจจุบันมีคำสอนที่ดีมากมาย ที่เป็นประโยชน์ และเป็นพระพรแก่พวกเราเป็นอย่างยิ่ง ผมกำลังหมายถึง คำสอนบางคำสอน ที่สอน ที่ขัดแย้งกับพระคัมภีร์ โดยอาจด้วยความจริงใจของผู้เขียนคำสอนนั้น รับบีเหล่านั้น ได้ไปตัดต่อพันธุกรรม ของพระคัมภีร์โดยไม่รู้ตัว
สมัยที่พระเยซูคริสต์ดำเนินชีวิตอยู่บนโลกนี้ ครั้งหนึ่งพระเยซูได้ตำหนิฟาริสี และธรรมาจารย์ไว้อย่างน่าสนใจว่า "พวกเจ้าเอาบทบัญญัติของมนุษย์มาตู่ว่าเป็นพระดำรัสของพระเจ้า... เจ้าทั้งหลายละธรรมบัญญัติของพระเจ้า และกลับไปถือตามถ้อยคำของมนุษย์ที่เขาสอนต่อๆ กันมานั้น"
มก 7:7-8 7เขานมัสการเราโดยหาประโยชน์มิได้ ด้วยเอาบทบัญญัติของมนุษย์มาตู่ว่าเป็นพระดำรัสสอนของพระเจ้า 8เจ้าทั้งหลายละธรรมบัญญัติของพระเจ้า และกลับไปถือตามถ้อยคำของมนุษย์ที่เขาสอนต่อๆกันมานั้น"
สิ่งที่พระเยซูได้ตำหนิเหล่าฟาริสี และธรรมาจารย์เมื่อ 2,000 ปีที่แล้ว หาได้หมด หรือสูญหายไปแต่อย่างไรไม่ ตรงกันข้ามสิ่งเดียวกันนี้ ยังคงดำรงอยู่ในยุคศตวรรษที่ 21 นี้ด้วยเช่นกัน
มก 7:7-8 7เขานมัสการเราโดยหาประโยชน์มิได้ ด้วยเอาบทบัญญัติของมนุษย์มาตู่ว่าเป็นพระดำรัสสอนของพระเจ้า 8เจ้าทั้งหลายละธรรมบัญญัติของพระเจ้า และกลับไปถือตามถ้อยคำของมนุษย์ที่เขาสอนต่อๆกันมานั้น"
สิ่งที่พระเยซูได้ตำหนิเหล่าฟาริสี และธรรมาจารย์เมื่อ 2,000 ปีที่แล้ว หาได้หมด หรือสูญหายไปแต่อย่างไรไม่ ตรงกันข้ามสิ่งเดียวกันนี้ ยังคงดำรงอยู่ในยุคศตวรรษที่ 21 นี้ด้วยเช่นกัน
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? เหตุผลก็เพราะว่า ลักษณะนิสัยอย่างหนึ่งของมนุษย์ ก็คือ มนุษย์ชอบอะไรที่เป็นสูตรสำเร็จ ที่ว่าถ้าเราทำ หนึ่ง-สอง-สาม ข้อนี้แล้ว จะเกิดผลลัพท์ หนึ่ง-สอง-สาม นี้ตามมา หลายครั้งจึงเป็นเรื่องง่ายเหลือเกิน ที่เราตกลงสู่กับดักของสูตรสำเร็จ
ท้ายที่สุดแล้ว เราต้องไม่ลืม ความจริงข้อหนึ่งที่ว่า ความเชื่อคริสเตียนเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ หาใช่ศาสนาไม่
ท้ายที่สุดแล้ว เราต้องไม่ลืม ความจริงข้อหนึ่งที่ว่า ความเชื่อคริสเตียนเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ หาใช่ศาสนาไม่
เมื่อไม่นานมานี้ พระเจ้าสอนผมว่า การสอนพระคัมภีร์ ต่างกับการสอนศาสนา หลังจากที่อาดัมและเอวาได้กินผลจากต้นไม้แห่งความรู้ในความดีและความชั่วแล้ว (The Tree of the Knowledge of Good and Evil) วิญญาณศาสนาเกิดขึ้น และเป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์อย่างที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เราทุกคนต่างมีวิญญาณศาสนา รู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตามที เราชอบตั้งกฎให้คนอื่นปฏิบัติ แต่ตัวเราชอบที่จะอยู่เหนือกฏเกณฑ์เหล่านั้น
พระเจ้าพูดกับผมต่อว่า การสอนพระคัมภีร์กับการสอนศาสนา เป็นคนละเรื่องกัน เราสามารถสอนศาสนา โดยเอาพระคัมภีร์มาสนับสนุนปรัญชาศาสนาเหล่านั้น ให้ดูดี และน่าเลื่อมใส เหมือนอย่างที่พระเยซูได้ทรงตำหนิฟาริสีและธรรมาจารย์ว่า "พวกเจ้าเอาบทบัญญัติและถ้อยคำมนุษย์ที่สอนต่อๆกันมานั้น มาตู่ว่าเป็นพระดำรัสของพระเจ้า"
ถ้าจะว่าไปฟาริสี และธรรมาจารย์ ไม่ได้สอนให้คนไปทำบาป ตรงกันข้าม สิ่งที่พวกเขาสอน เป็นสิ่งที่ดูดี สอดคล้องกับพระบัญญัติของพระเจ้า พระเจ้ามีการสอนเรื่องของความสะอาดเอาไว้มากมาย คำสอนหลายคำสอนของฟาริสี และธรรมาจารย์ ก็ต่อยอด เหมือนจะสนับสนุนคำสอนตามพระบัญญัติของพระเจ้าเป็นอย่างดี คือให้ล้างมือ และชำระตัว
แต่ปัญหาก็คือ ฟาริสีและธรรมาจารย์ ยึดถือแต่รูปแบบภายนอก และพิธีกรรมปฏิบัติที่เป็นแต่เพียงเปลือก หาได้เข้าใจ และรักษาไว้ซึ่งแก่นและเจตนารมย์ของพระเจ้าไม่ เหตุผลที่พระเจ้าสอนเรื่องสุขอนามัย ก็เพราะว่า พระเจ้ารักและห่วงใยประชากรของพระองค์ เช่น เวลามีคนเป็นโรคติดต่อ พระเจ้าสอนให้แยกคนป่วยออกไปอยู่นอกค่าย เหตุผลและเจตนารมย์ ของพระองค์ก็คือ ปกป้องคนที่เหลือจากการติดเชื้อ
การล้างมือ หรือการชำระตัวเป็นสิ่งที่ดี อีกทั้งสอดคล้อง และถูกต้องตามหลักการ ในพระบัญญัติของพระเจ้า แต่วิญญาณของฟาริสีและธรรมาจารย์นั้นไม่ใช่ ฟาริสีและธรรมาจารย์ ใช้หลักคำสอน วิธีปฏิบัติ หรือสูตรสำเร็จของเขา ในการบีบบังคับ และควบคุมคนให้อยู่ภายใต้อาณัติของเขา
เรื่องของวันสะบาโต (Sabbath) ก็อีกเช่นกัน เจตนารมย์ของพระเจ้า คือให้คนของพระองค์ได้พักสงบในพระองค์ แต่ฟาริสีได้สร้างกฎ ข้อปฏิบัติมากมายบนหลักของวันสะบาโต และใช้กฎเหล่านั้น ในการปรักปรำ ควบคุม บงการและทำร้ายคน
ครั้งหนึ่งพระเยซูได้ทรงตรัสสอนฟาริสีไว้อย่างน่าสนใจว่า "วันสะบาโตนั้นทรงตั้งไว้เพื่อมนุษย์ มิใช่ทรงสร้างมนุษย์ไว้สำหรับวันสะบาโต"
มก 2:27 พระองค์จึงตรัสแก่เขาว่า ''วันสะบาโตนั้นทรงตั้งไว้เพื่อมนุษย์ มิใช่ทรงสร้างมนุษย์ไว้สำหรับวันสะบาโต
กลับมาที่ประเด็นที่พระเจ้าได้พูดกับผมว่า การสอนพระคัมภีร์ กับการสอนศาสนาเป็นคนละเรื่องกัน
คำถาม อะไรคือการสอนพระคัมภีร์ และอะไรคือการสอนศาสนา?
การสอนพระคัมภีร์ คือการสอนสิ่งที่พระเจ้าพูด ในน้ำหนักตามเจตนารมย์ของพระเจ้า โดยไม่ตัดทอน หรือเพิ่มเอาความคิดเหตุผลของมนุษย์ผสมโรงเข้าไป ในขณะที่การสอนศาสนา คือการเอาคำคิด เหตุผล และวิธีการของมนุษย์ผสมโรงเข้าไป สร้างออกมาเป็นกฎ ข้อพึงปฏิบัติ หรือจะเรียกว่า สูตรสำเร็จก็ตามที โดยพยายามใช้กฎเหล่านั้น ในการควบคุม ปรักปรำ และทำร้ายคน มิใช่เพื่อเสริมสร้างให้คนได้เติบโตขึ้นในพระเจ้าตามการทรงนำของพระวิญญาณบริสุทธิ์
ข้อน่าสังเกต ตลอดเล่มพระคัมภีร์ เราไม่เคยเห็น พระเจ้าใช้วิธีการบังคับขู่เข็ญ หรือควบคุมคนเลย พระองค์ทรงบอกถึงผลดี และผลร้าย และให้สิทธิ์กับเราในการตัดสินใจ จริงๆ แล้ว พระองค์ทำสิ่งที่น่าประทับใจ คือ ให้ข้อมูลที่เป็นสัจธรรมกับเรา จัดสรรบรรยากาศ และสถานการณ์ ให้เอื้ออำนวย เพื่อที่จะช่วยให้เราสามารถตัดสินใจ เลือกในสิ่งที่ดี ดีกับตัวของเราเอง แม้ในเวลาที่เราผิดพลาดไปแล้ว พระองค์ทรงหนุนใจ ชูกำลัง ผ่านสถานการณ์ และพี่น้องคริสเตียน เพื่อที่จะกู้เรา ให้กลับมายืนได้อีกครั้งหนึ่ง มากยิ่งไปกว่านั้น สามารถที่จะเดินไปกับพระองค์ได้อีกครั้งหนึ่ง
ตรงกันข้ามกับสิ่งที่พระเจ้าทำ มารซาตานและสมุนของมัน กับเป็นคนใช้วิธีการบังคับและควบคุม เช่นการสิง และควบคุมคนให้อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของมัน วิธีการเหล่านี้ ที่พระเจ้าไม่ทำ มารทำ
ก่อนที่เราจะไปกันต่อ ในเรื่องของการรู้จักกับพระเจ้า สิ่งหนึ่งที่เราต้องรู้ และตระหนักก็คือ พระคัมภีร์ที่เราถืออยู่ในมือ แบ่งออกเป็น 2 พันธสัญญาใหญ่ๆ ด้วยกัน คือพันธสัญญาเดิม (Old Covenant) และพันธสัญญาใหม่ (New Covenant)
วันนี้คงไม่มีข้อสงสัย และข้อโต้แย้งว่า เราอยู่ในยุคพันธสัญญาเดิม หรือพันธสัญญาใหม่ เป็นที่ยอมรับกันอย่างเป็นเอกฉันท์ว่า ผู้เชื่อในองค์พระเยซูคริสต์ทุกคนในวันนี้ อยู่ภายใต้พันธสัญญาใหม่แห่งพระคุณของพระเจ้า (The New Dispensation of the Grace of God)
ก่อนที่เราจะไปกันต่อ ในเรื่องของการรู้จักกับพระเจ้า สิ่งหนึ่งที่เราต้องรู้ และตระหนักก็คือ พระคัมภีร์ที่เราถืออยู่ในมือ แบ่งออกเป็น 2 พันธสัญญาใหญ่ๆ ด้วยกัน คือพันธสัญญาเดิม (Old Covenant) และพันธสัญญาใหม่ (New Covenant)
วันนี้คงไม่มีข้อสงสัย และข้อโต้แย้งว่า เราอยู่ในยุคพันธสัญญาเดิม หรือพันธสัญญาใหม่ เป็นที่ยอมรับกันอย่างเป็นเอกฉันท์ว่า ผู้เชื่อในองค์พระเยซูคริสต์ทุกคนในวันนี้ อยู่ภายใต้พันธสัญญาใหม่แห่งพระคุณของพระเจ้า (The New Dispensation of the Grace of God)
สิ่งที่แปลกแต่จริงก็คือ วันนี้ถ้าเราถามพี่น้องคริสเตียน ว่าพันธสัญญาเดิม ต่างกับพันธสัญญาใหม่อย่างไร? คำตอบที่ได้ ดูจะคลุมเคลือ และงุนงงเป็นอย่างยิ่ง
ถ้าเราถามต่อไปว่า การรู้จักพระเจ้าในแบบพันธสัญญาใหม่ เป็นอย่างไร? และแตกต่างกับการรู้จักพระเจ้าในพันธสัญญาเดิมอย่างไร? ผมเชื่อว่า ผู้เชื่อจำนวนมาก ไม่สามารถจะแยกแยะได้ เพราะพวกเขาก็ไม่รู้เหมือนกันว่า มันแตกต่างกันอย่างไร?
ครั้งหนึ่งผมก็เคย อยู่ในความสับสนนั้น และอยู่มานานนับ 10 ปี จนวันหนึ่ง พระเจ้าทรงเปิดตาใจฝ่ายวิญญาณของผม ให้เกิดความเข้าใจในสัจธรรมแห่งพันธสัญญาใหม่
พระธรรมโรม, กาลาเทีย และฮีบรู 3 เล่มนี้ เป็น 3 เล่มกุญแจ ที่สอนให้เราเข้าใจถึงแก่นสาร แห่งพันธสัญญาใหม่ โดยในแต่ละเล่ม จะมีจุดเน้น ที่แตกต่างกัน แต่เมื่อรวมทั้ง 3 เป็นหนึ่งเดียวกัน จะทำให้เราสามารถวางกรอบความเข้าใจ เรื่องเกี่ยวกับพันธสัญญาใหม่ได้เป็นอย่างดี
วันนี้ผมอยากจะกล่าวถึงพระคัมภีร์ฮีบรูเป็นพิเศษ เพราะพระธรรมฮีบรูจะเน้นอธิบายเรื่องความแตกต่าง (Contrast) ระหว่างพันธสัญญาเดิม และพันธสัญญาใหม่เป็นหลัก
พันธสัญญาเดิมคือเงา (Shadow) ในขณะที่พันธสัญญาใหม่คือแก่นสาร (Substance) ความเข้าใจในพระธรรมฮีบรู จะช่วยให้เราถอดรหัส ภาพเงาที่ซ่อนอยู่เหล่านั้น ออกมาเป็นมาได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ
พระธรรมฮีบรูจะเน้นและเปรียบเทียบ ให้เห็นถึงความแตกต่าง ระหว่างภาพเงาในพันธสัญญาเดิม กับภาพแก่นสารในพันธสัญญาใหม่ ในหลายๆ ด้าน และหลายๆ มุม โดยจุดเน้นของพระธรรมฮีบรู ก็คือพระเยซูคริสต์ พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ พระเยซูคริสต์ และงานที่สำเร็จแล้วของพระองค์ ทำให้ภาพหลายๆ อย่างในพันธสัญญาเดิมถูกเปลี่ยนไป
ในแต่ละบทของพระธรรมฮีบรูจะอธิบายให้เราเห็นถึงพระเยซู ว่าพระองค์ทรงเหนือกว่า ทุกๆ คนในพันธสัญญาเดิมอย่างไร
ในแต่ละบทของพระธรรมฮีบรูจะอธิบายให้เราเห็นถึงพระเยซู ว่าพระองค์ทรงเหนือกว่า ทุกๆ คนในพันธสัญญาเดิมอย่างไร
เรามาดูโครงร่างอย่างคร่าวๆ (Outline) ของพระธรรมฮีบรูกันสักหน่อยนะครับ เพื่อที่เราจะเห็นภาพ และเกิดความเข้าใจที่มากขึ้น และต่อยอดไปถึงเนื้อหาหลักที่ผมอยากจะกล่าวถึงในวันนี้
ฮีบรู บทที่ 1-2 พูดถึงว่าพระเยซู เหนือกว่าฑูตสวรรค์อย่างไร?
ฮีบรู บทที่ 3 พูดถึงว่าพระเยซูเหนือกว่าโมเสสอย่างไร? [คนยิว หรือคนฮีบรูจะนับถือและยกย่องโมเสสมาก]
ฮีบรู บทที่ 4 พูดถึงว่าพระเยซูเหนือกว่าโยชูวาอย่างไร?
ฮีบรู บทที่ 5-8 พูดถึงว่าพระเยซูผู้เป็นมหาปุโรหิตตามแบบอย่างของเมลคีเซเดค (Melchizedek Priesthood) ทรงเหนือกว่าอาโรน และปุโรหิตสายอาโรน (Aaronic Priesthood) อย่างไร?
จุดที่น่าสนใจที่สุด ที่เป็นประเด็นหลัก (Crux of the Message) ที่ผมอยากจะพูดถึง ก็คือสิ่งที่ได้ถูกซ่อนเอาไว้ในพระธรรมฮีบรูบทที่ 8 นี้เอง จริงๆ แล้ว ตั้งแต่บทที่ 5 ยาวมาจนถึงบทที่ 8 ตอนต้น พระธรรมฮีบรูได้อธิบาย ให้เห็นถึงความแตกต่างและความเหนือกว่าของระบอบปุโรหิตของพระเยซูคริสต์ ที่มีเหนือระบอบปุโรหิตสายอาโรน
จนมาถึงช่วงปลายของบทที่ 8 คือในข้อ 7-13 และตรงนี้เอง คือสิ่งที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
ในพระคัมภีร์ภาษาอังกฤษ ในฉบับแปล New King James Version (NKJ) ผู้แปลได้ แยกข้อ 7-13 นี้ออกมาเป็นอีกหัวข้อหนึ่งเลย (ดูภาพประกอบด้านบน) โดยตั้งชื่อหัวเรื่อง (Header) ในส่วนนี้ว่า "พันธสัญญาใหม่ (A New Covenant)"
เนื้อความใน 7 ข้อนี้ คือตั้งแต่ข้อ 7 ไปจนถึงข้อ 13 จบบท เป็นอะไรที่เข้มข้น Rich มากๆ ในด้านของเนื้อหา เรียกได้ว่า แต่ละข้อ สามารถเป็นคำเทศนาได้เลยในตัวเอง
ในตอนหน้า เราจะมาร่วมกันใคร่ครวญ (meditate) เนื้อหาที่อันแน่น ที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ได้ทรงเก็บซ่อนเอาไว้ ในเรื่องของพันธสัญญาใหม่ เพื่อที่จะปูพื้น ความเข้าใจให้เรา ก่อนที่เราจะจบบทความนี้ในตอนที่ 3 ตอนสุดท้าย เรื่องการรู้จักกับพระเจ้าในพันธสัญญาใหม่
No comments:
Post a Comment